keluaran hk tercepat dan data result tercepat, live draw hk paling akurat. Data result sgp dan live draw sgp tercepat 2023, keluaran togel cambodia, live draw cambodia
วิชาวิทยานิพนธ์/การศึกษาอิสระ/ดุษฎีนิพนธ์เป็นรายวิชาที่เน้นการสร้างองค์ความรู้ พัฒนาทักษะ และความเชี่ยวชาญเฉพาะสาขา ลักษณะการเรียนการสอน เป็นการทำวิจัยภายใต้การดูแลของคณะกรรมการที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญในสาขานั้นๆ ซึ่งเป็นรายวิชาที่มีจำนวนหน่วยกิตมากที่สุดและใช้เวลาในการเรียนนานที่สุดของหลักสูตร ทั้งนี้จำนวนหน่วยกิตและระยะเวลาขึ้นอยู่กับแผนการศึกษา สำหรับการดำเนินการของรายวิชาการศึกษาอิสระและรายวิชาวิทยานิพนธ์จะดำเนินการเช่นเดียวกัน
1 การลงทะเบียนเรียน
1.1 หลักสูตรระดับปริญญาโท
แบบ ก1 นักศึกษาลงทะเบียนเรียนรายวิชาวิทยานิพนธ์ ได้ตั้งแต่ชั้นปีที่ ภาคการศึกษาที่ 1
แบบ ก2 นักศึกษาสามารถลงทะเบียนเรียนรายวิชาวิทยานิพนธ์/การศึกษาอิสระได้ตั้งแต่ ในชั้นปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 1 และ 2 ทั้งนี้ให้อยู่ในดุลยพินิจของอาจารย์ที่ปรึกษา
การลงทะเบียนเรียนรายวิชาวิทยานิพนธ์/การศึกษาอิสระ ต้องมีการเสนอแต่งตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาก่อนการลงทะเบียน
1.2 หลักสูตรระดับปริญญาเอก
แบบ 1.1 และ 1.2 ไม่จำเป็นต้องลงทะเบียนกระบวนวิชาต่างๆ สามารถทำดุษฎีนิพนธ์ได้เลย จึงสามารถลงทะเบียนเรียนรายวิชาดุษฎีนิพนธ์ตั้งแต่ ชั้นปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 1
แบบ 2.1 และ 2.2 ลงทะเบียนเรียนรายวิชานี้ได้ตั้งแต่ ชั้นปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 2 และชั้นปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 1 ตามลำดับ
การลงทะเบียนเรียนรายวิชาดุษฎีนิพนธ์ ต้องมีการเสนอแต่งตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาก่อนการลงทะเบียน
2 คุณสมบัติประธานที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์/ดุษฎีนิพนธ์
3.2.1 มีตำแหน่งวิชาการเป็นรองศาสตราจารย์ หรือ ศาสตราจารย์ หรือ
3.2.2 มีคุณวุฒิปริญญาเอก หรือเทียบเท่า
3 ขั้นตอนการเรียนรายวิชาวิทยานิพนธ์ของหลักสูตรระดับปริญญาโท
3.3.1 การเสนออนุมัติเค้าโครงวิทยานิพนธ์
3.3.1.1 การลงทะเบียนรายวิชาวิทยานิพนธ์ของนักศึกษา แผน ก แบบ ก1 นักศึกษาต้องลงทะเบียนรายวิชาวิทยานิพนธ์ ตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 1 ของชั้นปีที่ 1
- การลงทะเบียนรายวิชาวิทยานิพนธ์ของนักศึกษา แผน ก แบบ ก2 นักศึกษาลงทะเบียนรายวิชาวิทยานิพนธ์เป็นครั้งแรก ไม่เกินภาคการศึกษาที่ 1 ของชั้นปีที่ 2
- การลงทะเบียนรายวิชาวิทยานิพนธ์เป็นครั้งแรกจะต้องเสนอแต่งตั้งอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก และอาจารย์ที่ปรึกษาร่วม (ถ้ามี) ตามแบบ บว. 21
- นักศึกษาเลือกอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ศึกษาเบื้องต้น วิเคราะห์ และวางแผนการศึกษาพร้อมทั้งเสนอเค้าโครงวิทยานิพนธ์ซึ่งเขียนเป็นภาษาอังกฤษ ตามแบบฟอร์ม บว. 23 ให้เสร็จสิ้นภายใน 1 ปีการศึกษา นับจากที่นักศึกษาลงทะเบียนรายวิชาวิทยานิพนธ์ โดยนักศึกษาจะต้องส่งเค้าโครงวิทยานิพนธ์ ให้คณะกรรมการสอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์ก่อนการสอบ 1 สัปดาห์
- นักศึกษาที่จะดำเนินการสอบเค้าโครงฯ โดยยื่นคำร้องขอสอบเค้าโครงโดยผ่านความเห็นชอบของอาจารย์ที่ปรึกษา ประธานหลักสูตรฯ และคณบดีคณะเทคนิคการแพทย์ อาจารย์ที่ปรึกษาหลักเป็นผู้เสนอแต่งตั้งคณะกรรมการสอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์ตามแบบฟอร์ม บศ. 1 และต้องยื่นคำร้องขอสอบและแต่งตั้งกรรมการสอบเค้าโครงก่อนสอบต่อเจ้าหน้าที่หลักสูตรฯ ไม่น้อยกว่า 1 สัปดาห์
- อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก เป็นผู้เสนอแต่งตั้งคณะกรรมการสอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์ ประกอบด้วย
- อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก
- อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม (ถ้ามี)
- ผู้แทนที่ได้รับมอบหมายจากหลักสูตร (ประธานคณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ เสนอ) 1 คน
- ผู้ทรงคุณวุฒิภายคณะหรือนอกมหาวิทยาลัย(ควรเป็นบุคคลเดียวกันกับผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกมหาวิทยาลัยในการสอบวิทยานิพนธ์) 1 คน
โดยมอบหมายให้ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกมหาวิทยาลัยฯ เป็นประธานกรรมการสอบเค้าโครงฯ
การเสนอแต่งตั้งกรรมการ ข้อ 3.3.1.6.1 และ 3.3.1.6.2 จะต้องไม่เป็นบุคคลคนเดียวกับกรรมการในข้อ 3.3.1.6.3 และในกรณีที่กรรมการ ข้อ 3.3.1.6.3 หากเป็นกรรมการบริหารหลักสูตรฯ และพ้นสภาพการเป็นกรรมการบริหารหลักสูตรฯ ภายหลังการแต่งตั้ง ให้กรรมการผู้นั้นปฏิบัติหน้าที่ในการสอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์ ในเรื่องนั้น ๆ จนแล้วเสร็จ
- เค้าโครงวิทยานิพนธ์จะต้องได้รับความเห็นชอบอย่างน้อย 2 ใน 3 ของคณะกรรมการสอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์ ประธานคณะกรรมการสอบเค้าโครงฯ ส่งใบแจ้งผลการสอบเค้าโครงฯ ภายใน 15 วันหลังจากวันสอบเค้าโครงฯ ต่อเจ้าหน้าที่หลักสูตรฯ เพื่อนำเสนอคณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ และคณะกรรมการประจำบัณฑิตวิทยาลัยต่อไป
- นักศึกษาที่สอบผ่าน ทำเรื่องเสนอเค้าโครงวิทยานิพนธ์ตามแบบฟอร์ม บว. 23 พร้อมทำเค้าโครงวิทยานิพนธ์ ที่แก้ไขตามที่คณะกรรมการแนะนำ เป็นแผ่น CD จำนวน 2 แผ่น ภายใน 45 วันหลังจากวันที่ทำการสอบ
- นักศึกษาที่สอบไม่ผ่าน ให้ทำการสอบอีกครั้งภายใน 60 วันหลังจากสอบครั้งแรก หากสอบครั้งที่ 2 ไม่ผ่าน นักศึกษาจะได้ค่า S=0 สำหรับหน่วยกิตที่ลงทะเบียนวิทยานิพนธ์ไปแล้วหรือตามความเห็นชอบของคณะกรรมการสอบ
3.3.2 การรายงานความก้าวหน้าการศึกษารายวิชาวิทยานิพนธ์
3.3.2.1 นักศึกษารายงานผลความก้าวหน้าในการศึกษารายวิชาวิทยานิพนธ์ ทุกภาคการศึกษาก่อนลงทะเบียนรายวิชาวิทยานิพนธ์ในภาคการศึกษาต่อไป โดยอาจารย์ที่ปรึกษาเสนอแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินความก้าวหน้าวิทยานิพนธ์ ตามแบบ บศ. 4 และต้องแจ้งการขอสอบและแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินความก้าวหน้าต่อเจ้าหน้าที่หลักสูตรไม่น้อยกว่า 1 สัปดาห์
3.2.2.2 อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลักเป็นผู้เสนอแต่งตั้งคณะกรรมการสอบประเมินผลความก้าวหน้าวิทยานิพนธ์ ประกอบด้วย
3.2.2.1 อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก เป็นประธานกรรมการ
3.2.2.2 อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม (ถ้ามี) เป็นกรรมการ
3.2.2.3 ผู้แทนที่ได้รับมอบหมายจากหลักสูตรฯ (ประธานคณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ เสนอ) เป็นกรรมการ
3.2.2.4 ผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง เป็นกรรมการ
การเสนอแต่งตั้งกรรมการ ข้อ 3.2.2.1 และ ข้อ 3.2.2.2 จะต้องไม่เป็นบุคคลคนเดียวกับกรรมการในข้อ 3.2.2.3 และ/หรือ 3.2.2.4 และในกรณีที่กรรมการ ข้อ 3.2.2.3 เป็นกรรการบริหารหลักสูตรฯและได้พ้นสภาพการเป็นกรรมการบริหารหลักสูตรฯ ภายหลังที่ได้รับการแต่งตั้ง ให้กรรมการผู้นั้นปฏิบัติหน้าที่ในการสอบประเมินผลความก้าวหน้าวิทยานิพนธ์ ในเรื่องนั้นๆ จนแล้วเสร็จ
3.2.2.3 การเสนอความก้าวหน้าวิทยานิพนธ์ จะต้องมีการเสนอทางวาจา และเป็นลายลักษณ์อักษร เป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษตามแบบฟอร์มที่กำหนดในเอกสารแนบท้ายเรื่องแบบรายงานความก้าวหน้าวิทยานิพนธ์ ตามแบบ บศ. 5
3.2.2.4 นักศึกษารายงานความก้าวหน้าการศึกษาครั้งสุดท้าย ก่อนการสอบป้องกันวิทยานิพนธ์ อย่างน้อย 45 วัน
3.2.2.5 คณะกรรมการสอบประเมินผลความก้าวหน้าวิทยานิพนธ์จะต้องประเมินปริมาณงานของนักศึกษาเพื่อระบุจำนวนหน่วยกิตวิทยานิพนธ์ที่ได้สัญลักษณ์ S เมื่อสิ้นสุดภาคการศึกษา โดยหลักสูตรฯได้กำหนดแผนการศึกษาให้ลงทะเบียนเรียนรายวิชาวิทยานิพนธ์ทั้งสิ้น 36 หน่วยกิต สำหรับหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต แผน ก แบบ ก1 และ 12 หน่วยกิต สำหรับ แผน ก แบบ ก2 โดยแบ่งเป็นภาคการศึกษาต่าง ๆ ดังแสดงในตารางที่ 1
3.3.3 การสอบวิทยานิพนธ์
3.3.3.1 นักศึกษามีสิทธิ์สอบวิทยานิพนธ์เมื่อมีคุณสมบัติดังนี้
3.3.3.1.1 มีผลการประเมินความก้าวหน้าโดยได้ S ครบตามจำนวนหน่วยกิตของรายวิชาวิทยานิพนธ์ที่หลักสูตรฯกำหนด และจะต้องดำเนินการสอบภายใน 45 วัน ซึ่งเป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยขอนแก่น ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2548
3.3.3.1.2 ได้รับอนุมัติเค้าโครงฯ แล้วไม่น้อยกว่า 60 วัน
3.3.3.2 การสอบวิทยานิพนธ์มีข้อกำหนดดังนี้
3.3.3.1 กำหนดให้เขียนวิทยานิพนธ์เป็นภาษาอังกฤษ โดยมีบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และส่งให้คณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ พิจารณาอย่างน้อย 3 สัปดาห์ก่อนวันสอบ
3.3.3.2 เมื่อนักศึกษาและอาจารย์ที่ปรึกษาร่วมกันกำหนดวันสอบได้แล้ว นักศึกษายื่นใบคำร้องขอสอบวิทยานิพนธ์ตามแบบฟอร์ม บว. 25 อาจารย์ที่ปรึกษาทำเรื่องเสนอแต่งตั้งคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ตามแบบฟอร์ฒ บว. 26 ต่อเจ้าหน้าที่หลักสูตรก่อนล่วงหน้า 1 สัปดาห์ คณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ ประกอบด้วย
- อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก
- อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม (ถ้ามี)
- ผู้แทนที่ได้รับมอบหมายจากหลักสูตรฯ (ประธานคณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ เสนอ) 1 คน
- ผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง 1 คน
- ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกมหาวิทยาลัยขอนแก่น 1 คน
โดยมอบหมายให้ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกมหาวิทยาลัย เป็นประธานคณะกรรมการฯ
การเสนอแต่งตั้งกรรมการ ข้อ 3.3.3.2.1 และ 3.3.3.2.2 ต้องไม่เป็นบุคคลเดียวกับกรรมการในข้อ 3.3.3.2.3 และ 3.3.3.2.4
- การพิจารณาผลการสอบและการรายงานผลการสอบ ให้เป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยขอนแก่นว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2548 เรื่องการทำวิทยานิพนธ์และการศึกษาอิสระ หมวดที่ 8 ข้อ 49 และข้อ 50 โดยใช้เกณฑ์การประเมินผลสอบตามเอกสารแนบท้ายเรื่องเกณฑ์การประเมินผลสอบวิทยานิพนธ์
- ให้หลักสูตรฯ เป็นผู้ดำเนินการเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการดำเนินการสอบวิทยานิพนธ์
3.4 ขั้นตอนการเรียนรายวิชาดุษฎีนิพนธ์ของหลักสูตรระดับปริญญาเอก
3.4.1 การสอบวัดคุณสมบัติของนักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
3.4.1.1 การสอบวัดคุณสมบัติเป็นการสอบข้อเขียนและการสอบปากเปล่า ซึ่งดำเนินการโดยคณะกรรมการสอบวัดคุณสมบัติ
3.4.1.2 คุณสมบัติของนักศึกษาที่มีสิทธิ์ขอสอบ คือ นักศึกษาที่เข้าศึกษาในหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ตั้งแต่ภาคการศึกษาแรกเป็นต้นไป โดยได้รับความเห็นชอบจากประธานคณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ โดยนักศึกษาต้องยื่นแบบคำร้องขอสอบวัดคุณสมบัติตามแบบฟอร์ม บว.30 ต่อเจ้าหน้าที่หลักสูตรก่อนล่วงหน้า 1 สัปดาห์
- อาจารย์ที่ปรึกษาดุษฎีนิพนธ์หลักทำเรื่องเสนอแต่งตั้งคณะกรรมการสอบวัดคุณสมบัติโดยใช้แบบฟอร์ม บว. 1 คณะกรรมการ ประกอบด้วยกรรมการไม่น้อยกว่า 5 คน ดังต่อไปนี้
- อาจารย์ที่ปรึกษาดุษฎีนิพนธ์หลัก 1 คน
- อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม (ถ้ามี) 1 คน
- ผู้แทนที่ได้รับมอบหมายจากหลักสูตรฯ (ประธานคณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ เสนอ) 1 คน
- อาจารย์ประจำสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง 2 คน
การเสนอแต่งตั้งกรรมการข้อ 3.4.1.3.1 และ 3.4.1.3.2 ต้องไม่เป็นบุคคลเดียวกับกรรมการในข้อ 3.4.1.3 และ/หรือ 3.4.1.4
- การประเมินผลการสอบวัดคุณสมบัติให้เป็นไปตามประกาศบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับที่ 70/2548) เรื่อง การสอบประมวลความรู้และการสอบวัดคุณสมบัติ ข้อ 4
- เกณฑ์การประเมินการสอบวัดคุณสมบัติ
- การสอบข้อเขียน ได้คะแนนไม่น้อยกว่า B
- การสอบปากเปล่า คณะกรรมการสอบวัดคุณสมบัติสามารถประเมินได้ว่านักศึกษามีความรู้ และความพร้อมที่จะดำเนินงานวิจัยที่เป็นดุษฎีนิพนธ์ให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี
3.4.2 การเสนออนุมัติเค้าโครงดุษฎีนิพนธ์
3.4.2.1 นักศึกษาจะต้องสอบผ่านการสอบวัดคุณสมบัติก่อน จึงจะดำเนินการเสนออนุมัติเค้าโครงดุษฎีนิพนธ์ได้
3.4.2.2 นักศึกษาเลือกอาจารย์ที่ปรึกษาดุษฎีนิพนธ์ ศึกษาเบื้องต้น วิเคราะห์ และวางแผนการศึกษาพร้อมทั้งเสนอเค้าโครงดุษฎีนิพนธ์ซึ่งเขียนเป็นภาษาอังกฤษตาม แบบฟอร์ม บว. 23 ภายใน 2 ปีการศึกษา นับจากที่นักศึกษาลงทะเบียนรายวิชาดุษฎีนิพนธ์และนักศึกษาจะต้องส่งเค้าโครงดุษฎีนิพนธ์ให้คณะกรรมการสอบเค้าโครงดุษฎีนิพนธ์ก่อนการสอบ 1 สัปดาห์
3.4.2.3 นักศึกษาที่ดำเนินการขอสอบเค้าโครงฯ โดยยื่นคำร้องขอสอบเค้าโครงฯ ซึ่งผ่านความเห็นชอบของอาจารย์ที่ปรึกษาหลัก ประธานคณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ และคณบดีคณะเทคนิคการแพทย์ อาจารย์ที่ปรึกษาหลักเป็นผู้เสนอแต่งตั้งคณะกรรมการสอบเค้าโครงฯ ตามแบบฟอร์ม บศ. 1 และต้องยื่นคำร้องขอสอบและแต่งตั้งกรรมการสอบเค้าโครงฯ ก่อนสอบต่อเจ้าหน้าที่หลักสูตรฯ ไม่น้อยกว่า 1 สัปดาห์
3.4.2.4 อาจารย์ที่ปรึกษาดุษฎีนิพนธ์หลักเป็นผู้เสนอแต่งตั้งคณะกรรมการสอบเค้าโครงดุษฎีนิพนธ์ ประกอบด้วย
3.4.2.4.1 อาจารย์ที่ปรึกษาดุษฎีนิพนธ์หลัก
3.4.2.4.2 อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม (ถ้ามี)
3.4.2.4.3 ผู้แทนที่ได้รับมอบหมายจากหลักสูตร (ประธานคณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ เเสนอ) 1 คน
3.4.2.4.4 อาจารย์ประจำสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง 1 คน
3.4.2.4.5 ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกมหาวิทยาลัย (ควรเป็นบุคคลเดียวกันกับผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกมหาวิทยาลัยในการสอบดุษฎีนิพนธ์) 1 คน
โดยมอบหมายให้ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกมหาวิทยาลัย เป็นประธานคณะกรรมการฯ
การเสนอแต่งตั้งกรรมการ ข้อ 3.4.2.4.1 และ 3.4.2.4.2 จะต้องไม่เป็นบุคคลคนเดียวกับกรรมการในข้อ 3.4.2.4.3 และ/หรือ 3.4.2.4.4 และในกรณีที่กรรมการ ข้อ 3.4.2.4.3 เป็นคณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯได้พ้นสภาพการเป็นกรรมการบริหารหลักสูตรฯ หลังการแต่งตั้ง ให้กรรมการผู้นั้นปฏิบัติหน้าที่ในการสอบเค้าโครงหน้าดุษฎีนิพนธ์ ในเรื่องนั้น ๆ จนแล้วเสร็จ
3.4.2.5 เค้าโครงดุษฎีนิพนธ์จะต้องได้รับความเห็นชอบอย่างน้อย 2 ใน 3 ของคณะกรรมการสอบเค้าโครงดุษฎีนิพนธ์ ประธานคณะกรรมการสอบฯ ส่งใบแจ้งผลการสอบเค้าโครงฯ ภายใน 15 วันหลังวันสอบเค้าโครงฯ ต่อเจ้าหน้าที่หลักสูตรร่วม เพื่อนำเสนอคณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ และคณะกรรมการประจำบัณฑิตวิทยาลัยต่อไป
3.4.2.6 นักศึกษาสอบผ่าน ทำเรื่องเสนอเค้าโครงดุษฎีนิพนธ์ตามแบบฟอร์ม บว. 23 พร้อมเค้าโครงดุษฎีนิพนธ์ฉบับภาษาอังกฤษ ที่แก้ไขตามที่คณะกรรมการแนะนำ เป็นแผ่น CD จำนวน 2 แผ่น
3.4.2.7 นักศึกษาสอบไม่ผ่าน ให้ทำการสอบอีกครั้งภายใน 60 วันหลังจากสอบครั้งแรก หากสอบครั้งที่ 2 ไม่ผ่าน นักศึกษาจะได้ค่า S=0 สำหรับหน่วยกิตที่ลงทะเบียนดุษฎีนิพนธ์ไปแล้วหรือตามความเห็นชอบของคณะกรรมการสอบ
3.4.3 การรายงานความก้าวหน้าการศึกษารายวิชาดุษฎีนิพนธ์
3.4.3.1 นักศึกษารายงานผลความก้าวหน้าในการศึกษารายวิชาดุษฎีนิพนธ์ ทุกภาคการศึกษาก่อนลงทะเบียนรายวิชาวิทยานิพนธ์ในภาคการศึกษาต่อไป โดยอาจารย์ที่ปรึกษาเสนอแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินความก้าวหน้าดุษฎีนิพนธ์ ตามแบบ บศ. 4 และต้องแจ้งการขอสอบและแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินความก้าวหน้าต่อเจ้าหน้าที่หลักสูตรไม่น้อยกว่า 1 สัปดาห์
3.4.3.2 อาจารย์ที่ปรึกษาดุษฎีนิพนธ์หลักเป็นผู้เสนอแต่งตั้งคณะกรรมการสอบประเมินผลความก้าวหน้าดุษฎีนิพนธ์ ประกอบด้วย
3.4.3.2.1 อาจารย์ที่ปรึกษาดุษฎีนิพนธ์หลัก
3.4.3.2.2 อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม (ถ้ามี)
3.4.3.2.3 ผู้แทนที่ได้รับมอบหมายจากหลักสูตร (ประธานคณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ เเสนอ) 1 คน
3.4.3.2.4 อาจารย์ประจำสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง 1 คน
การเสนอแต่งตั้งกรรมการ ข้อ 3.4.3.2.1 และ ข้อ 3.4.3.2.2 จะต้องไม่เป็นบุคคลคนเดียวกับกรรมการในข้อ 3.4.3.2.3 และ/หรือ 3.4.3.2.4 และในกรณีที่กรรมการ ข้อ 3.4.3.2.3 เป็นคณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ ได้พ้นสภาพการเป็นกรรมการบริหารหลักสูตรฯ ภายหลังการแต่งตั้ง ให้กรรมการผู้นั้นปฏิบัติหน้าที่ในการสอบประเมินผลความก้าวหน้าดุษฎีนิพนธ์ ในเรื่องนั้น ๆ จนแล้วเสร็จ
3.4.3.3 การเสนอความก้าวหน้าดุษฎีนิพนธ์ จะต้องมีการเสนอทางวาจา และเป็นลายลักษณ์อักษร เป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ตามแบบฟอร์มที่กำหนดในเอกสารแนบท้ายเรื่องแบบรายงานความก้าวหน้าดุษฎีนิพนธ์
3.4.3.4 นักศึกษารายงานความก้าวหน้าการศึกษาครั้งสุดท้าย ก่อนการสอบป้องกันดุษฎีนิพนธ์ อย่างน้อย 1 เดือน
3.4.3.5 เกณฑ์การประเมินความก้าวหน้าในการทำดุษฎีนิพนธ์
คณะกรรมการพิจารณาความก้าวหน้าดุษฎีนิพนธ์จะต้องประเมินปริมาณงานของนักศึกษาเพื่อระบุจำนวนหน่วยกิตดุษฎีนิพนธ์ที่ได้สัญลักษณ์ S เมื่อสิ้นสุดภาคการศึกษา โดยหลักสูตรฯได้กำหนดแผนการศึกษาให้ลงทะเบียนเรียนรายวิชาดุษฏีนิพนธ์ทั้งสิ้น 72 หน่วยกิตสำหรับแบบ 1.2, 48 หน่วยกิตสำหรับแบบ 1.1 และแบบ 2.2, และ 36 หน่วยกิตสำหรับแบบ 2.1
3.4.4 การสอบดุษฎีนิพนธ์
3.4.4.1 กำหนดให้เขียนดุษฎีนิพนธ์เป็นภาษาอังกฤษ โดยมีบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และส่งให้คณะกรรมการสอบดุษฎีนิพนธ์พิจารณาอย่างน้อย 3 สัปดาห์ก่อนวันสอบ
3.4.4.2 เมื่อนักศึกษาและอาจารย์ที่ปรึกษาร่วมกันกำหนดวันสอบได้แล้ว นักศึกษายื่นในคำร้องขอสอบดุษฎีนิพนธ์ตามแบบฟอร์ม บว.25 อาจารย์ที่ปรึกษาทำเรื่องเสนอแต่งตั้งคณะกรรมการสอบดุษฎีนิพนธ์ตามแบบฟอร์ม บว.26 ต่อเจ้าหน้าที่หลักสูตรก่อนล่วงหน้า 1 สัปดาห์ คณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ ประกอบด้วย
- อาจารย์ที่ปรึกษาดุษฎีนิพนธ์หลัก
3.4.4.2.2 อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม (ถ้ามี)
3.4.4.2.3 ผู้แทนที่ได้รับมอบหมายจากหลักสูตร (ประธานคณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ เสนอ) 1 คน
3.4.4.2.4 อาจารย์ประจำสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง 1 คน
3.4.4.2.5 ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกมหาวิทยาลัย 1 คน
การเสนอแต่งตั้งกรรมการ ข้อ 3.4.4.2.1 และ 3.4.4.2.2 ต้องไม่เป็นบุคคลเดียวกับกรรมการในข้อ 3.4.2.2.3 และ 3.4.4.2.4
3.4.4.3 การพิจารณาผลการสอบและการรายงานผลการสอบ ให้เป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยขอนแก่นว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2548 เรื่องการทำวิทยานิพนธ์และการศึกษาอิสระ หมวดที่ 8 ข้อ 49 และข้อ 50 โดยใช้เกณฑ์การประเมินผลสอบตามเอกสารแนบท้ายเรื่องเกณฑ์การประเมินผลสอบดุษฎีนิพนธ์
3.4.4.4 ให้หลักสูตร ฯ เป็นผู้ดำเนินการเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการดำเนินการสอบดุษฎีนิพนธ์
ขั้นตอนในการสอบต่างๆ ขอรายวิชาวิทยานิพนธ์