Home » ขั้นตอนการเรียนวิชาดุษฎีนิพนธ์ของหลักสูตรระดับปริญญาเอก

ขั้นตอนการเรียนวิชาดุษฎีนิพนธ์ของหลักสูตรระดับปริญญาเอก

 – ขั้นตอนการขอสอบวัดคุณสมบัติดุษฎีนิพนธ์

เสนอคำร้องขอแต่งตั้งอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์โดยใช้ แบบ บว. 21
pngpix-com-arrow-down-png-transparent-image-65px
นักศึกษาลงทะเบียนเรียนรายวิชาวิทยาดุษฎีนิพนธ์ตามคำแนะนำของอาจารย์ที่ปรึกษา
pngpix-com-arrow-down-png-transparent-image-65px
ปรึกษาอาจารย์ที่ปรึกษาเกี่ยวกับการสอบวัดคุณสมบัติ การเขียนโครงร่างดุษฎีนิพนธ์ และทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้อง
pngpix-com-arrow-down-png-transparent-image-65px

 


การเสนอความก้าวหน้าดุษฏีนิพนธ์

เพื่อประเมินจำนวนหน่วยกิตที่ผ่าน (S) ในแต่ละภาคการศึกษา

– อาจารย์ที่ปรึกษาเสนอแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินความก้าวหน้าดุษฏีนิพนธ์ซึ่งเป็นคณะกรรมการชุดเดียวกับคณะกรรมการ
สอบเค้าโครงดุษฎีนิพนธ์ (ยกเว้นผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกมหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งจะเป็นเฉพาะกรรมการสอบเค้าโครงดุษฎีนิพนธ์) ตามแบบเสนอแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินความก้าวหน้าวิทยานิพนธ์/ดุษฎีนิพนธ์
– นักศึกษาเสนอความก้าวหน้าในการศึกษาทุกภาคการศึกษา
– การเสนอความก้าวหน้าดุษฎีนิพนธ์จะต้องมีการเสนอทางวาจาและเป็นลายลักษณ์อักษร เป็นภาษาอังกฤษ ตามแบบฟอร์มที่กำหนดในเอกสารแนบท้ายเรื่องแบบรายงานความก้าวหน้าดุษฎีนิพนธ์
หลังการประเมินความก้าวหน้าดุษฎีนิพนธ์ คณะกรรมการพิจารณาผลจำนวนหน่วยกิตที่ได้และแจ้งให้นักศึกษาทราบ นักศึกษาต้องส่งใบแจ้งผลการประเมินความก้าวหน้า และแบบรายงานความก้าวหน้าวิทยานิพนธ์/ดุษฎีนิพนธ์ ภายใน 1 สัปดาห์ ต่อเจ้าหน้าที่หลักสูตรร่วม (คุณนฤมล ดอนบันเทาสำนักงานคณบดี คณะเทคนิคการแพทย์) เพื่อเสนอต่อกรรมการบริหารหลักสูตรฯ และคณะกรรมการประจำบัณฑิตวิทยาลัยต่อไป

 

pngpix-com-arrow-down-png-transparent-image-65px


การสอบวัดคุณสมบัติ

– เป็นการสอบเพื่อประเมินว่านักศึกษามีความพร้อมที่จะสามารถดำเนินงานวิจัยดุษฎีนิพนธ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
– นักศึกษามีสิทธิ์ขอสอบ ตั้งแต่ภาคการศึกษาแรกที่เริ่มลงทะเบียนเรียนรายวิชาดุษฎีนิพนธ์เป็นต้นไป และต้องยื่นแบบ บว. 30 (หน้า 58 ) ล่วงหน้าอย่างน้อย 15 วัน
–  การสอบประกอบด้วยการสอบข้อเขียนเป็นภาษาอังกฤษและการสอบปากเปล่าเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ
– อาจารย์ที่ปรึกษาทำเรื่องเสนอแต่งตั้งคณะกรรมการสอบวัดคุณสมบัติ บว. 31 ประกอบด้วยกรรมการ ดังต่อไปนี้
1. อาจารย์ที่ปรึกษาดุษฎีนิพนธ์ 1 คน
2. อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม 1 คน (ถ้ามี)
3. กรรมการบริหารหลักสูตรฯ/หรืออนุกรรมการวิชาการ 1 คน
4. อาจารย์ประจำสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องหรือผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก 2  คน 
กรรมการข้อ 1 และ 2 ต้องไม่เป็นบุคคลเดียวกับกรรมการในข้อ 3 และ/หรือ 4 และ อาจารย์ที่ปรึกษาดุษฎีนิพนธ์ไม่ควรเป็นประธานคณะกรรมการ ฯ
– คณะกรรมการประชุมเพื่อกำหนดขอบเขตของข้อสอบ น้ำหนักคะแนนของข้อสอบแต่ละส่วน ผู้รับผิดชอบออกข้อสอบและตรวจข้อสอบ ทั้งนี้อาจมีกรรมการบางท่านไม่ได้ออกข้อสอบซึ่งขึ้นอยู่กับหัวข้อที่กำหนด ในการสอบโดยทั่วไปแล้วนักศึกษาสามารถค้นหาข้อมูลนอกห้องสอบได้ ดังนั้นข้อสอบควรเป็นคำถามเชิงคิด วิเคราะห์ และสังเคราะห์
– ในการสอบปากเปล่ามักจะเป็นการสอบโดยทดสอบความเข้าใจในข้อสอบข้อเขียน (เขียนตอบเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ)  และอาจมีคำถามเพิ่มเติมจากกรรมการได้ โดยใช้ภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษในการสอบ แล้วแต่ดุลยพินิจของกรรมการสอบวัดคุณสมบัติ
–  เกณฑ์การประเมินการสอบวัดคุณสมบัติ
1. การสอบข้อเขียน ได้ระดับคะแนนไม่น้อยกว่า B
2. การสอบปากเปล่า คณะกรรมการสอบวัดคุณสมบัติสามารถประเมินได้ว่านักศึกษามีความรู้ และความพร้อมที่จะดำเนินงานวิจัยที่เป็นดุษฎีนิพนธ์ให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี
– ประธานคณะกรรมการสอบรายงานผลการสอบต่อสำนักทะเบียนและประมวลผล และบัณฑิตวิทยาลัย ผ่านประธานกรรมการหลักสูตร ฯ โดยใช้  แบบ บว. 32 (หน้า 61 )  ภายใน 15 วันนับจากวันสอบ
– นักศึกษาที่สอบวัดคุณสมบัติผ่านแล้วมีสิทธิ์ขออนุมัติสอบเค้าโครงดุษฎีนิพนธ์ในระดับดุษฎีบัณฑิตได้
– สำหรับนักศึกษาที่สอบไม่ผ่านในครั้งแรก สามารถสอบได้อีกหนึ่งครั้งและต้องสอบให้ได้ภายใน 2 ปีการศึกษา

– หากนักศึกษาสอบครั้งที่สองแล้วไม่ผ่านจะพ้นสภาพการเป็นนักศึกษาตามระเบียบมหาวิทยาลัยขอนแก่นฯ

pngpix-com-arrow-down-png-transparent-image-65px

การเสนออนุมัติเค้าโครงดุษฎีนิพนธ์

– นักศึกษาจะต้องสอบผ่านการสอบวัดคุณสมบัติก่อน
– เสนอขออนุมัติเค้าโครงดุษฎีนิพนธ์ภายใน 2  ปีการศึกษาหลังจากลงทะเบียนดุษฎีนิพนธ์
– การเขียนเค้าโครงดุษฎีนิพนธ์และการนำเสนอเค้าโครงดุษฎีนิพนธ์เป็นภาษาอังกฤษ
– อาจารย์ที่ปรึกษาดุษฎีนิพนธ์เป็นผู้เสนอแต่งตั้งคณะกรรมการสอบเค้าโครงดุษฎีนิพนธ์ ตามแบบเสนอแต่งตั้งคณะกรรมการสอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์/ดุษฎนิพนธ์  ซึ่งคณะกรรมการประกอบด้วย
1. อาจารย์ที่ปรึกษา (ไม่ควรเป็นประธานกรรมการ)
2. อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม (ถ้ามี)
3. กรรมการบริหารหลักสูตรฯ/หรืออนุกรรมการวิชาการ 1 คน
4. อาจารย์ประจำสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง 1  คน
5. ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกมหาวิทยาลัย (เป็นบุคคลเดียวกับผู้ทรงคุณวุฒิในการสอบดุษฎีนิพนธ์)
– นักศึกษาจะต้องส่งเค้าโครงดุษฎีนิพนธ์ที่เป็นภาษาอังกฤษให้คณะกรรมสอบเค้าโครงดุษฎีนิพนธ์ก่อนการนำเสนอ 1 สัปดาห์ โดยการเขียนเค้าโครงดุษฎีนิพนธ์ในหัวข้อประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ นักศึกษาต้องระบุชื่อเรื่องของผลงานที่คาดว่าจะตีพิมพ์ พร้อมทั้งระบุชื่อวารสาร และ impact factor ของวารสารนั้นด้วย
– นักศึกษาขอสอบโดยผ่านความเห็นชอบของประธานที่ปรึกษาดุษฎีนิพนธ์ ประธานหลักสูตรฯ และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัยอนุมัติ
– การสอบเค้าโครงดุษฎีนิพนธ์ นักศึกษาต้องนำเสนอเป็นภาษาอังกฤษ และจะต้องได้รับความเห็นชอบอย่างน้อย 2 ใน 3 ของคณะกรรมการสอบเค้าโครงดุษฎีนิพนธ์
หากนักศึกษาสอบผ่าน ทำเรื่องเสนออนุมัติเค้าโครงดุษฎีนิพนธ์ตามแบบฟอร์ม บว. 23  พร้อมส่งเค้าโครงดุษฎีนิพนธ์และ CD บันทึกข้อมูล จำนวน 2 ชุด ต่อเจ้าหน้าที่หลักสูตรร่วม (คุณนฤมล  ดอนบันเทา สำนักงานคณบดี คณะเทคนิคการแพทย์) ภายใน 1 สัปดาห์ เพื่อนำเสนอคณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ และคณะกรรมการประจำบัณฑิตวิทยาลัยต่อไป

หากนักศึกษาสอบไม่ผ่าน สามารถสอบอีกครั้งภายใน 60 วันหลังการสอบครั้งแรก หากสอบครั้งที่ 2 ไม่ผ่าน นักศึกษาจะได้ค่า S = 0 สำหรับหน่วยกิตที่ลงทะเบียนวิชาดุษฎีนิพนธ์ไปแล้วหรือตามความเห็นชอบ ของคณะกรรมการสอบ

 

pngpix-com-arrow-down-png-transparent-image-65px

การสอบดุษฎีนิพนธ์
นักศึกษาทำเรื่องขอสอบดุษฎีนิพนธ์ได้เมื่อ

– หลังจากลงทะเบียนวิชาดุษฎีนิพนธ์และประเมินได้ S ครบตามจำนวนหน่วยกิตของรายวิชาดุษฎีนิพนธ์ที่ต้องศึกษาตามหลักสูตรฯ โดยนักศึกษาต้องสอบภายใน 45 วัน ซึ่งเป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยขอนแก่น ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2559
– สอบผ่านเค้าโครงแล้วไม่น้อยกว่า 60 วัน และได้จัดทำโครงร่างดุษฎีนิพนธ์เรียบร้อยแล้ว
ขั้นตอนประกอบด้วย
– เมื่อนักศึกษาและอาจารย์ที่ปรึกษาร่วมกันกำหนดวันสอบได้แล้ว นักศึกษากรอกคำร้องขอสอบดุษฎีนิพนธ์ บว.25 (หน้า 50) พร้อมแบบฟร์อมการป้องกันการคัดลอกผลงานผู้อื่นในดุษฎีนิพนธ์ อาจารย์ที่ปรึกษาทำเรื่องเสนอแต่งตั้งคณะกรรมการสอบดุษฎีนิพนธ์ บว. 26 ซึ่งประกอบด้วย
1. อาจารย์ที่ปรึกษา (ไม่ควรเป็นประธานคณะกรรมการ)
2. อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม (ถ้ามี)
3. กรรมการบริหารหลักสูตรฯ/หรืออนุกรรมการวิชาการ 1 คน
4. อาจารย์ประจำสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง 1 คน
5. ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกมหาวิทยาลัย 1 คน
การเสนอแต่งตั้งกรรมการ 1 และ 2 ต้องไม่เป็นบุคคลเดียวกับกรรมการในข้อ 3 และ 4
-นักศึกษาส่งดุษฎีนิพนธ์ที่เขียนเป็นภาษาอังกฤษ โดยมีบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษให้คณะกรรมการสอบดุษฎีนิพนธ์พิจารณาอย่างน้อย 3 สัปดาห์ก่อนวันสอบ ซึ่งในวันสอบป้องกันเป็นการสอบโดยใช้ภาษาอังกฤษ
– คณะกรรมการสอบป้องกันดุษฎีนิพนธ์ พิจารณาผลการสอบตามแบบฟอร์ม และแจ้งให้นักศึกษาทราบ หากมีการแก้ไขให้ระบุและให้นักศึกษาลงชื่อรับทราบเงื่อนไข พร้อมทั้งส่งคะแนนพร้อมกับ บว. 27 ไปที่เจ้าหน้าที่หลักสูตรร่วม (คุณนฤมล ดอนบันเทา สำนักงานคณบดี คณะเทคนิคการแพทย์) ภายใน 3 วันนับจากสอบเสร็จเพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ และคณะกรรมการประจำบัณฑิตวิทยาลัยต่อไป

 

 – ขั้นตอนการขอสอบวัดคุณสมบัติดุษฎีนิพนธ์

Terdapat banyak situs judi slot online jackpot terbesar resmi dan terpercaya yang bisa kalian andalkan untuk bisa menikmati permainan slot online sering kasih menang: